เปิดประวัติ ต้นตีนเป็ด หรือ พญาสัตบรรณ

พญาสัตบรรณ

         ต้นตีนเป็ด หรือ พญาสัตบรรณ หนึ่งในต้นไม้ที่อยู่คู่กับชาวไทยมาช้านาน โดยเชื่อว่าต้นไม้ชนิดนี้นั้นเป็นต้นไม้สำหรับนักปราชญ์และผู้มีสติปัญญาทั้งหลาย จึงเริ่มนอยมปลูกตามอาคารและในสถานที่ราชการต่าง ๆ แต่ในปัจจุบันจะสามารถพบเห็นต้นไม้ชนิดนี้ได้ทั่วไปตามท้องถนนหรือสวนสาธารณะต่าง ๆ ซึ่งคนกลุ่มหนึ่งก็ชอบในความสวยงามและความสูงชะลูดของต้น แต่กับคนอีกกลุ่มหนึ่งนั้นกลับไม่ชอบต้นไม้ชนิดนี้เนื่องจากกลิ่นของมันที่ส่งออกมานั้นเป็นพิษและไม่เป็นที่ชื่นชอบของคนหมู่มากเสียเท่าไหร่ วันนี้บทความที่เราจะนำมาเสนอก็จะเกี่ยวกับประวัติพญาสัตบรรณหรือต้นตีนเป็นที่ทุกท่านรู้จักกันนั่นเองค่ะ กว่าจะมาเป็นต้น พญาสัตบรรณ ให้เราได้พบเห็นนั้นมีที่มาอย่างไรบ้าง          ต้นพญาสัตบรรณ มีชื่อเรียกที่หลากหลายชื่อมากค่ะ ไม่ว่าจะเป็น ต้นตีนเป็ด , ต้นตีนเป็ดไทย , ต้นตีนเป็ดเขียว , หรือต้นสักตะบัน ซึ่งการเรียกชื่อนั้นก็จะขึ้นอยู่กับภูมิภาคที่ได้อาศัย ซึ่งก็จะมีการขานชื่อที่แตกต่างกันไป โดยต้นไม้ชนิดนี้เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ด้วยความสูง 10-20 เมตร ลำต้นตั้งตรง บริเวณลำต้นจะเป็นสีน้ำตาลและมีสะเก็กขาว ๆ กระจายอยู่เต็มต้น หากลองใช้มีดกรีดดูจะพบว่ามียางอยู่ โดยการแตกกิ่งนั้นจะแตกออกเป็นชั้น ๆ มักออกใบบริเวณปลายกิ่ง ดอกสีขาวอมเหลืองมีกลิ่นฉุนออกดอกในช่วงฤดูหนาว          ความเป็นมาของพญาสัตบรรณนั้นได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ.2537 โดยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้ทำการพระราชทานต้นตีนเป็ดหรือต้นพญาสัตบรรณ ในวันรณรงค์โครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ ปีที่ 50 ให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร […]